วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลอนแห่งชีวิต

รักหลงไหลรูปโฉมชโลมใจ
รักนั้นไซร้เนิ่นนานไม่รู้หาย
รักล่วงเลยผ่านกาลสายธารไกล
รักแค่ไหนย่อมมีเสื่อมหายมลายไป

อารมณ์คนนั้นมักแปรผันเปลี่ยน
คอยหมุนเวียนดุจดั่งเทียนที่เล่นไฟ
มีจุดติดมอดดับสลับไป
คนนั้นไซร้ยิ่งกว่าเทียนเปลี่ยนฉับพลัน

หากกลัวทุกข์อยากมีสุขทุกเพลา
ตัดตัณหาแลกิเลศให้หมดสิ้น
มีสติเห็นปัญญาเป็นอาจิณ
พร้อมกลับถิ่นเมื่อสิ้นลมทุกเมื่อครา

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

อุดมการณ์


ผู้กำกับนำรายการเบอร์โทรศัพท์ทั้งหมดของคนที่อยู่ในบ้าน ในช่วงเวลา 7 โมงเป็นต้นไป ไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการเลขหมายโทรศัพท์ด้วยตัวเอง เพื่อไม่ให้ใครรู้ว่ามีการสืบสวนอย่างลับๆ หลังจากใช้เวลาไม่นานในการค้นหาบันทึกการใช้โทรศัพท์ในช่วงนั้น ผู้กำกับนำเอกสารจำนวน 3 แผ่นส่งให้กับทนายแสวงที่สำนักงาน

"นักสืบที่คุณทนายหามามีวิธีการทำงานที่แปลกมาก แต่

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ข้อสอบ

1. คำในข้อใดแสดงลักษณะของภาษาไทยที่อาจจะไม่ตรงกับลักษณะของภาษาคำโดด
ก. คลอง          ข. ปู่          ค. หนาว          ง. ยืน
 
ตอบ ก. คลอง
ลักษณะทั่วไปของภาษาคำโดดประการหนึ่งคือ คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีเสียงควบกล้ำ แต่บางทีภาษาไทยก็ไม่เป็นเช่นนี้เสียทีเดียว ทั้งนี้เพราะคำในภาษาไทยเป็นอันมากที่มีมากพยางค์และมีเสียงควบกล้ำ เช่น คลอง คราด ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงฯลฯ
 
2. ข้อใดมิได้เรียงคำตามแบบภาษาไทย
ก. บาร์เบียร์        ข. เบียร์บาร์          ค. เบียร์ไทย         ง. ฝาเบียร์ 
 
ตอบ ข. เบียร์บาร์
การเรียงคำตามแบบภาษาไทยนั้นจะต้องเรียงคำตามตำแหน่งหน้าที่คำใดทำหน้าที่ใด หมายความว่าอย่างไร ก็อยู่ที่การเรียงลำดับคำ การเรียงคำผิดที่ผิดตำแหน่งความหมายจะเปลี่ยนไปด้วย เช่น คำขยายจะต้องอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ฯลฯ
 
3. คำในข้อใดมิได้แสดงเพศตามแบบไทย
ก. เจ้าบ่าว            ข. เจ้าสาว         ค. บุรุษพยาบาล       ง. อาจารย์หญิง
 
ตอบ ง. อาจารย์หญิง
ในภาษาคำโดด เมื่อต้องการแสดงเพศของคำนามจะใช้คำแสดงเพศมาประกอบข้างหน้า ข้างหลัง หรือประสมกันตามแบบคำประสม เช่นเจ้าบ่าว – เจ้าสาว, พระเอก – นางเอก, บุรุษพยาบาล – นางพยาบาล ฯลฯ
 
4. คำในข้อใดแสดงมาลาตามแบบไทย
ก. จะให้คะแนน      ข. ไม่ให้คะแนน       ค. ให้คะแนนแล้ว      ง. น่าให้คะแนน
 
ตอบ ง. น่าให้คะแนน
การแสดงมาลาตามแบบไทย คือ การแสดงภาวะหรืออารมณ์ในขณะที่พูด เช่น ออกคำสั่ง ขอร้อง อ้อนวอน คาดคะเน ฯลฯ โดยการนำคำอื่นมาช่วยประกอบคำกริยาหรืออาจใช้กริยา
ช่วย ได้แก่ คง พึง จง ต้อง อาจ โปรด ย่อม ฯลฯ หรือคำอื่น ๆ ช่วยแสดง ได้แก่ น่า เถอะ เถิด เป็นต้น
 
5. ระบบเสียงสูงต่ำแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในข้อใด
ก. ท่ามันจะเข้ามาด่าเราแน่             ข. ท่ามันจะเข้ามาตีเราแน่
ค. ท่ามันจะเข้ามารวนเราแน่           ง. ท่ามันจะเข้ามาท้าเราแน่
 
ตอบ ง. ท่ามันจะเข้ามาท้าเราแน่
ระบบเสียงสูงต่ำ (เสียงวรรณยุกต์) ในภาษาไทย คือ การกำหนดเสียงสูงต่ำไว้ตายตัวในคำแต่ละคำ เพื่อต้องการแยกความหมาย โดยให้เสียงหนึ่งมีความหมายอย่างหนึ่ง หากเปลี่ยนเสียงความหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เช่น ท่า = กิริยาอาการที่ปรากฏให้เห็น , ท้า = ชวนวิวาท ชวนขันสู้ ชวนให้ทดลองความรู้ความสามารถ ฯลฯ
 
6. ข้อใดใช้ตรวจสอบลักษณะของภาษาไทยได้
ก. กิน นอน นั่ง ยืน          ข. เสวย นิทรา สถิต
ค. กินเจ นอนเล่น            ง. กินนอกกินใน นอนหลับทับสิทธิ์
 
ตอบ ก. กิน นอน นั่ง ยืน
คำพยางค์เดียวที่เป็นคำพื้นฐานของภาษาไทย มักเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนกิริยาอาการที่จำเป็นแก่มนุษย์ เช่น คำกริยาที่สำคัญและจำเป็น ได้แก่ กินนอน นั่ง ยืน เดิน วิ่ง พูด โดด โจน ฯลฯ
 
7. ที่มาของคำมากพยางค์ในภาษาไทยคืออะไร
ก. ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ                           ข. ไทยสร้างขึ้นใหม่เองตามแบบไทย
ค. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาบางประการ        ง. ทุกประการที่กล่าวแล้ว
 
ตอบ ง. ทุกประการที่กล่าวแล้ว
คำมากพยางค์ในภาษาไทยอาจมีที่มา 3 ทาง คือ
1. ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ ฯลฯ
2. สร้างขึ้นใหม่ตามแบบวิธีการสร้างคำของไทย
3. เกิดคำใหม่เพราะการเปลี่ยนแปลงทางภาษาบางประการ
 
8. ทำอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าออกเสียงสระ
ก. ปล่อยลมผ่านหลอดลมโดยไม่กักที่ส่วนใดในปาก
ข. ปล่อยลมผ่านหลอดลม แล้วกักที่เพดานปาก
ค. ปล่อยลมผ่านหลอดลม แล้วกักที่โคนฟัน
ง. ปล่อยลมผ่านหลอดลม แล้วกักที่ริมฝีปาก
 
ตอบ ก. ปล่อยลมผ่านหลอดลมโดยไม่กักที่ส่วนใดในปาก
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการออกเสียงสระกับการออกเสียงพยัญชนะ คือ การออกเสียงสระนั้นลมหายใจที่พุ่งออกมาจากปอดสู่หลอดลมแล้วมาออกทางปากจะไม่ถูกกักไว้ที่ส่วนใดในปากเลย แต่การออกเสียงพยัญชนะนั้นลมหายใจที่พุ่งออกมาจากหลอดลมจะถูกกักหรือถูกขัดขวางที่จุดใดจุดหนึ่งในปาก
 
9. สระเดี่ยวปรากฏในข้อใด
ก. วัว                           ข. โค                     ค. ควาย                      ง. หมวย
 
ตอบ ข. โค
เสียงสระในภาษาไทยมี 28 เสียง แบ่งออกเป็น
1. สระเดี่ยว 18 เสียง ได้แก่ อะ อา อึ อื เออะ เออ (สระกลาง), อิ อี เอะ เอ แอะ แอ(สระหน้า), อุ อู โอะ โอ เอาะ ออ (สระหลัง)
2. สระผสม 10 เสียง ได้แก่ เอือะ เอือ เอาอาว ไอ อาย (สระกลาง), เอียะ เอีย (สระหน้า), อัวะ อัว (สระหลัง)
 
10. สระผสมไม่ปรากฏในข้อใด
ก. เฉา           ข. เฉียด         ค. ฉับ          ง. ฉาย
 
ตอบ ค. ฉับ 
 
แนวข้อสอบท้องถิ่น ข้อสอบ ภาค ก กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 
1. พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ เป็นฉบับที่เท่าไร
ก. ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542      ข. ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2549
ค. ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2552       ง. ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2552
 
ตอบ ค. ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2552
 
2. พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. 3 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. 7 วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
 
ตอบ ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พรบ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
3. พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ฉบับนี้ไม่ได้ยกเลิกกฎหมายใด
ก. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498
ข. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499
ค. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 93 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
ง. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
 
ตอบ ง. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498
(2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499
(3) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499
(4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2506
(5) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2509
(6) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2510
(7) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2511
(8) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2511
(9) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 93 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515
(10) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2521
(11) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2523
 
4. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น”
ก. เทศบาล                       ข. สุขาภิบาล
ค. กรุงเทพมหานคร           ง. ทุกข้อรวมกัน
 
ตอบ ง. ทุกข้อรวมกัน
"ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น" หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น นอกจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
5. หมวด 1 ใน พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 นี้เกี่ยวกับเรื่องอะไร
ก. บททั่วไป                  ข. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. การกำกับดูแล           ง. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
ตอบ ก. บททั่วไป
หมวด 1 บททั่วไป
 
6. ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
ก. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล
ค. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. องค์การบริหารส่วนตำบล, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 
 
ตอบ ค. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 7 ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
 
7. จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกี่คน
ก. 12 คน               ข. 24 คน
ค. 26 คน               ง. 32 คน
 
ตอบ ข. 24 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกินห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ยี่สิบสี่คน จังหวัดใดมีราษฎรเกินห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบหกคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคนแต่ไม่เกินสองล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบสองคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินสองล้านคนขึ้นไป ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบแปดคน
 
8. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่ค
ก. 24 คน             ข. 26 คน
ค. 30 คน             ง. 32 คน
 
ตอบ ค. 30 คน
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
9. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน 1,500,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 30 คน             ข. 32 คน
ค. 36 คน             ง. 40 คน
 
ตอบ ค. 36 คน
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
10. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 32 คน           ข. 36 คน
ค. 40 คน           ง. 42 คน
 
ตอบ ง. 42 คน
คำอธิบายดังข้อข้างต้น

[สอบท้องถิ่น 56] แนวข้อสอบกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ภาค ก ข้อสอบท้องถิ่น ชุดที่ 3,ติวข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก,รวม ติวข้อสอบท้องถิ่น,ติว ข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก,ข้อสอบ ภาค ก ท้องถิ่น ปี 2556,ข้อสอบเทศบาล,ข้อสอบ อบต,ข้อสอบ อบจ
แนวข้อสอบท้องถิ่น แนวข้อสอบเก่า ภาค ก กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2556
1. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 40 คน                 ข. 42 คน
ค. 48 คน                 ง. 52 คน
 
ตอบ ค. 48 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
2. อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีวาระคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี                 ข. 3 ปี
ค. 4 ปี                 ง. 6 ปี
 
ตอบ ค. 4 ปี
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 10 อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
 
3. มติในการถอดถอนสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น โดยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น โดยสมาชิกต้องมีเสียงเท่าใด
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3           ข. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ค. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3           ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
 
ตอบ ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 11 (7)(8)
(7) สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมด เท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า
สามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติ
(8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
 
4. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีจำนวนเท่าใดของผู้มี
สิทธิเลือกตั้งมาลงคะแนนเสียง เพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3                  ข. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 2
ค. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3                  ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
 
ตอบ ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
5. เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้ใดสิ้นสุดลงคำวินิจฉัยของผู้ใดถือว่าเป็นที่สุด
ก. นายกรัฐมนตรี                      ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. คณะรัฐมนตรี                       ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
 
ตอบ ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
6. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยใครบ้าง
ก. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 1 คน
ข. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 2 คน
ค. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 3 คน
ง. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 4 คน
 
ตอบ ข. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 2 คน
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 17 ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่ง และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน
 
7. เมื่อตำแหน่งประธานว่างลงต้องมีการเลือกประธานสภาภายในกี่วันนับแต่ตำแหน่งว่างลง
ก. ภายในสิบห้าวัน                      ข. ภายในสามสิบวัน
ค. ภายในสี่สิบห้าวัน                     ง. ภายในหกสิบวัน
 
ตอบ ก. ภายในสิบห้าวัน
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 19 เมื่อตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วแต่กรณี แทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
 
8. เมื่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองประธานสภา ไม่อยู่ในที่ประชุมให้ดำเนินการ
อย่างไร
ก. ผู้อาวุโสที่สุดเป็นประธานชั่วคราว              ข. คัดเลือกกันเองภายในที่ประชุม
ค. เลื่อนการประชุมออกไป                           ง. ผู้มีตำแหน่งสูงสุดเป็นประธานชั่วคราว
 
ตอบ ข. คัดเลือกกันเองภายในที่ประชุม
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 21 เมื่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งสองคนไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกกันขึ้นเองเป็นประธานในที่ประชุมสำหรับการประชุมคราวนั้น
 
9. ในปีหนึ่งๆ มีสมัยประชุมสามัญกี่สมัย
ก. หนึ่งสมัย              ข. สองสมัย
ค. สามสมัย               ง. สี่สมัย
 
ตอบ ข. สองสมัย
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 22ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัย
 
10. ผู้ว่าราชการจังหวัด กำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มาประชุมสภาองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดครั้งแรกภายในกี่วัน
ก. 7 วัน                               ข. 15 วัน
ค. 45 วัน                             ง. 45 วัน
 
ตอบ ข. 15 วัน
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 22 ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญสองสมัย
ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มาประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งแรก ภายในสิบห้าวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปี ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดสมัยประชุมสามัญให้มีกำหนดสี่สิบห้าวัน แต่ถ้ามีกรณีจำเป็น ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกได้ตามความจำเป็นครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน

[ฟรี !! ข้อสอบท้องถิ่น 2556] ข้อสอบท้องถิ่น แนวข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น ข้อสอบท้องถิ่น 56 ชุดที่ 4 ติวข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก,รวม ติวข้อสอบท้องถิ่น,ติวข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่น ภาค ก,ข้อสอบ ภาค ก ท้องถิ่น ปี 2556,ข้อสอบเทศบาล,ข้อสอบ อบต,ข้อสอบ อบจ
แนวข้อสอบ ข้อสอบเก่า ภาค ก กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2556
1. สมัยประชุมสามัญมีกำหนดขึ้นภายในกี่วัน
ก. 15 วัน                          ข. 30 วัน
ค. 45 วัน                          ง. 60 วัน
 
ตอบ ค. 45 วัน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
2. กรณีมีเหตุจำเป็น ประธานสภาสามารถสั่งขยายสมัยประชุมสามัญออกไปอีกครั้งละไม่เกินกี่วัน
ก. 15 วัน                               ข. 30 วัน
ค. 45 วัน                               ง. 60 วัน
 
ตอบ ก. 15 วัน
 
3. ผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดสมัยประชุมคือใคร
ก. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด           ข. นายกเทศมนตรี
ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด                     ง. คณะรัฐมนตรี
 
ตอบ ก. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 24 ภายใต้บังคับมาตรา 22 ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามสมัยประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดการประชุมในกรณีที่ไม่มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่เรียกประชุมตามกฎหมาย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดการประชุม
 
4. จากข้อข้างต้น ในกรณีไม่มีบุคคลดังกล่าว ให้ผู้ใดเป็นผู้เรียกประชุมและเป็นผู้เปิดและปิดการ
ประชุม
ก. นายกรัฐมนตรี                            ข. รัฐมนตรี
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด                     ง. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
ตอบ ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
5. ผู้ใดสามารถเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด
ก. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด          ข. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด           ง. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 25 เมื่อเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นสมัยวิสามัญก็ได้ หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ อาจทำคำร้องยื่นต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอให้เปิดการประชุมสมัยวิสามัญได้ ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำคำร้องขอให้เปิดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยวิสามัญ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยวิสามัญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง
การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมัยวิสามัญให้มีกำหนดเจ็ดวัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ และให้ขยายออกไปได้อีกไม่เกินเจ็ดวัน
 
6. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประชุมสมัยวิสามัญ
ก. ให้มีกำหนดเจ็ดวัน
ข. ขยายเวลาต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาด้วยเสียงสองในสาม
ค. ถ้าต้องการขยายออกไปได้ไม่เกินเจ็ดวัน
ง. ไม่มีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
 
ตอบ ข. ขยายเวลาต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาด้วยเสียงสองในสาม
คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
7. ข้อบังคับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบที่ใครกำหนด
ก. กระทรวงกลาโหม                    ข. กระทรวงมหาดไทย
ค. กระทรวงยุติธรรม                     ง. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
 
ตอบ ข. กระทรวงมหาดไทย
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 26 ข้อบังคับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
 
8. ในการประชุมลับของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ย่อมมีได้เมื่อจำนวนสมาชิกร้องขอมาไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3                 ข. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 2
ค. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3                  ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
 
ตอบ ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 30 การประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดย่อมเป็นการเปิดเผยตามลักษณะที่จะได้กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่ การประชุมลับย่อมมีได้เมื่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้องขอ หรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมาประชุมร้องขอ
 
9. ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบคำถามด้วยเหตุผลใด
ก. เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ                ข. เกี่ยวกับนโยบายการบริหารราชการส่วนกลาง
ค. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม            ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
 
ตอบ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข.
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 32 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจเสนอข้อสอบถามต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาคและให้หัวหน้าหน่วยงานราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ ทั้งนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าหน่วยงานราชการดังกล่าวชี้แจงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายในเวลาอันสมควรก็ได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าหน่วยงานราชการย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบคำถามเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติหรือเกี่ยวกับนโยบายของการบริหารราชการส่วนกลางที่ยังไม่สมควรเปิดเผย
 
10. บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารจังหวัดต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายใด
ก. กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
ข. กฎหมายเลือกตั้งสภาท้องถิ่น
ค. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ง. ถูกทุกข้อ
 
ตอบ ก. กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 35/1 บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
(3) ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการหรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นเพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญา หรือกิจการที่กระทำกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

[ ออกแล้ว!! ] แนวข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น แนวข้อสอบท้องถิ่น ข้อสอบท้องถิ่น 2556 ชุดที่ 5
1. ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง
ก. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล
ค. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. องค์การบริหารส่วนตำบล, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข้อสอบ ภาค ก ท้องถิ่น พร้อม เฉลย,ข้อสอบ ภาค ก ท้องถิ่น ระดับ 3
ตอบ ค. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540  มาตรา 7  ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
ข้อสอบ ภาค ก ส่วนท้องถิ่น,ข้อสอบ ภาค ก ท้องถิ่น 56,สอบ ภาค ข ท้องถิ่น
2. จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดกี่คน
ก. 12 คน                                     ข. 24 คน
ค. 26 คน                                     ง. 32 คน
ภาค ก ท้องถิ่น ,ข้อสอบ ภาค ก อบต,สอบกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ ข. 24 คน
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกินห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ยี่สิบสี่คน จังหวัดใดมีราษฎรเกินห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบหกคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคนแต่ไม่เกินสองล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบสองคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินสองล้านคนขึ้นไป ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบแปดคน
 
3. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 24 คน                                           ข. 26 คน
ค. 30 คน                                           ง. 32 คน
เตรียมสอบกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น,คู่มือเตรียมสอบ ภาค ก
ตอบ ค. 30 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
4. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,000,000 คน แต่ไม่เกิน  1,500,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 30 คน                                         ข. 32 คน
ค. 36 คน                                         ง. 40 คน
สอบภาค ก กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น,ผล สอบ กรม ส่งเสริม การ ปกครอง ส่วนท้องถิ่น
ตอบ ค. 36 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
5. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 32 คน                                             ข. 36 คน
ค. 40 คน                                             ง. 42 คน
 
ตอบ ง. 42 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
6. จังหวัดใดมีราษฎรเกิน 1,500,000 คน แต่ไม่เกิน 2,000,000 คน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. 40 คน                                              ข. 42 คน
ค. 48 คน                                              ง. 52 คน
 
ตอบ ค. 48 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
 
7. อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีวาระคราวละกี่ปี
ก. 2 ปี                                                       ข. 3 ปี
ค. 4 ปี                                                        ง. 6 ปี
 
ตอบ ค. 4 ปี
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 10  อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
 
8. มติในการถอดถอนสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น โดยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น  โดยสมาชิกต้องมีเสียงเท่าใด
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3                                    ข. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
ค. ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3                                     ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
 
ตอบ ง. ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 11 (7)(8)
(7) สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหรือก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือกระทำการอันเสื่อมเสียประโยชน์ของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมด เท่าที่มีอยู่เข้าชื่อเสนอให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณา และมติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ทั้งนี้ ให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติ
(8) ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
 
9. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยใครบ้าง
ก. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 1 คน
ข. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 2 คน
ค. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 3 คน
ง. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 4 คน
 
ตอบ ข. ประธานสภา 1 คน , รองประธานสภา 2 คน
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540  มาตรา 17  ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่ง และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน
 
10. เมื่อตำแหน่งประธานว่างลงต้องมีการเลือกประธานสภาภายในกี่วันนับแต่ตำแหน่งว่างลง
ก. ภายในสิบห้าวัน                    ข. ภายในสามสิบวัน
ค. ภายในสี่สิบห้าวัน                  ง. ภายในหกสิบวัน
 
ตอบ ก. ภายในสิบห้าวัน
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540  มาตรา 19  เมื่อตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่างลงเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือมีการยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้มีการเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด แล้วแต่กรณี แทนตำแหน่งที่ว่างภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง

[แจกฟรี!!] ข้อสอบภาค ก ท้องถิ่น พร้อมเฉลย คู่มือสอบท้องถิ่น แนวข้อสอบกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 2556 ชุดที่ 6ข้อสอบท้องถิ่น 2556,ข้อสอบคนท้องถิ่น,ชุมชนคนของท้องถิ่น,สอบงานท้องถิ่น,ชุมชนรวมคนท้องถิ่น,ชุมชนคนท้องถิ่นแบ่งปัน,คู่มือสอบท้องถิ่น,สอบท้องถิ่น 55,สอบท้องถิ่น ภาค ก 2556,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดสอบ 2556,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 
1.ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 48 คน ให้
แต่งตั้งรองนายกองค์การได้ไม่เกินกี่คน
ก. ไม่เกิน 2 คน                ข. ไม่เกิน 3 คน
ค. ไม่เกิน 4 คน                ง. ไม่เกิน 5 คน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดสอบ 2555,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดสอบ ภาค ก
ตอบ ข. ไม่เกิน 3 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดสอบ ภาค ก,สอบกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด แต่งตั้งเลขานุการและที่ปรึกษาที่มิใช่สมาชิกสภาได้ไม่เกินกี่คน
ก. ไม่เกิน 3 คน               ข. ไม่เกิน 4 คน
ค. ไม่เกิน 5 คน               ง. ไม่เกิน 6 คน
 
ตอบ ค. ไม่เกิน 5 คน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
ข้อสอบคนท้องถิ่น,ชุมชนคนของท้องถิ่น,สอบงานท้องถิ่น,ชุมชนรวมคนท้องถิ่น,ชุมชนคนท้องถิ่น
3. ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ารับหน้าที่ต้องกระทำสิ่งใด
ก. กล่าวแสดงวิสัยทัศน์             ข. เข้าพบนายกรัฐมนตรี
ค. ปฏิญาณตน                         ง. แถลงนโยบาย
 
ตอบ ง. แถลงนโยบาย
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 35/4 ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกประชุมสภาองค์ 
การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยไม่มีการลงมติ ทั้งนี้ ภายในสามสิบวันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
4. จากข้อข้างต้น จะต้องกระทำภายในกี่วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. 7 วัน                                     ข. 15 วัน
ค. 30 วัน                                    ง. 60 วัน
ชุมชนคนของท้องถิ่น,สอบงานท้องถิ่น,ชุมชนรวมคนท้องถิ่น,ชุมชนคนท้องถิ่นแบ่งปัน
ตอบ ค. 30 วัน คำอธิบายดังข้อข้างต้น
สอบท้องถิ่น ภาค ก 2555,สอบท้องถิ่น 56,หนังสือสอบท้องถิ่น,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
5. จากข้อข้างต้น หากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่สามารถกระทำการดังกล่าวได้ให้ทำอย่างไร
ก. บอกกล่าวแก่สมาชิก                                       ข. ทำเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกทราบ
ค. ทำหนังสือแจงแก่นายกเพื่ออธิบายเหตุผล            ง. กระทำการหลังจากนั้นไม่เกิน 15 วัน
 
ตอบ ข. ทำเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกทราบ
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาตรา 35/4 (วรรค 4)
หากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำนโยบายแจ้ง 
เป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกคนภายในเจ็ดวัน โดยให้นำวิธีการแจ้งคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม 
ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว
สอบท้องถิ่น ภาค ก 2555,สอบท้องถิ่น 56,หนังสือสอบท้องถิ่น,กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
6. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ฉบับที่ใช้อยู่เป็นฉบับ พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2542                              ข. พ.ศ. 2543
ค. พ.ศ. 2544                              ง. พ.ศ. 2545
แนวข้อสอบท้องถิ่น,ข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่นพร้อมเฉลย
ตอบ ก. พ.ศ. 2542
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วน- ท้องถิ่น พ.ศ. 2542”
แนวข้อสอบท้องถิ่น,ข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่นพร้อมเฉลย
7. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. 3 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. 7 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
แนวข้อสอบท้องถิ่น,ข้อสอบท้องถิ่น,แนวข้อสอบท้องถิ่นพร้อมเฉลย
ตอบ ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
8. ผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 คือใคร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย              ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด                                   ง. นายกเทศบาลเมืองพัทยา
 
ตอบ ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
9. หมวด 1 ใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 เกี่ยวกับเรื่องใด
ก. การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข. การบริหารงานบุคคลในเทศบาล
ค. การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนตำบล
ง. การบริหารงานบุคคลในเมืองพัทยา
 
ตอบ ก. การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 1 การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
 
10. ในองค์การบริหารจังหวัดแต่ละแห่งนั้นแต่ละแห่งนั้น จะประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจำนวนกี่คน
ก. 1 คน                                      ข. 2 คน
ค. 3 คน                                      ง. 4 คน
 
ตอบ ค. 3 คน
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 5 ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง ให้มีคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(1) ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
(2) หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจำนวนสามคนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้
(3) ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด